Customers Say

"Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam pharetra, tellus sit amet congue vulputate, nisi erat iaculis nibh, vitae feugiat sapien ante eget mauris."

-- Donna Annells, Seachers Inc.

มกราคม - การ์เนต(Garnet)

มกราคม - การ์เนต(Garnet)
clip_image002
       สำหรับ ท่านที่โชคดีได้เกิดในเดือนมกราคม   พลอยประจำเดือนของท่านคือ   พลอยโกเมน  หรือการ์เนต  (Garnet)  โกเมนเป็นพลอยในตระกูลแร่การ์เนต สีของพลอยชนิดนี้ออกแดงเข้ม   หรือแดงแก่กล่ำ   ทราบกันทั่วไปว่าแดงดั่งโกเมน   โบฮีเมีย  (Bohemain   Garnet)  หรือแดงอย่างโกเมนชนิดไพโรป   (Pyrope  garnet)
            คำว่า   ไพโรปมาจากภาษากรีก  แปลว่า   เหมือนไฟ  (Fire-like)  หรือ  ตาไฟ  (Fire-eye)  ส่วนรากศัพท์ของคำว่า   การ์เนตนั้น  มา จากภาษาละติน   Granatus  มีความหมายว่าเหมือนเมล็ด  (Seed-like)  ที่ว่าเหมือนนั้น   หมายถึงเหมือนเมล็ดสีแดงในผลทับทิม   ทั้งนื้   เนื่องจากมักจะได้พบผลึกพลอยโกเมนสีแดงฝังอยู่ในเนื้อหิน โดยมีลักษณะการฝังตัวเหมือนเมล็ดในผลทับทิม   โดยทั่วไปถ้ากล่าวถึงโกเมนจะหมายถึงการ์เนตสีแดง   ซึ่งจะเป็นการ์เนตชนิดไพโรป   แต่จากข้อเท็จจริงแล้ว   การ์เนตไม่จำเป็นต้องหมายถึงเฉพาะสีแดงหรือชนิดไพโรปเสมอไป   เพราะการ์เนตที่พบตามธรรมชาตินั้น   มีสีสรรได้มากมายหลายสี   ยกเว้นสีน้ำเงิน   ท่านที่เกิดในเดือนมกราคมนี้   นับเป็นบุคคลที่โชคดีมากอย่างหนึ่งในด้านนี้   ที่ได้พลอยการ์เนต   หรือโกเมนเป็นพลอยประจำเดือนเกิด   เพราะมีสีสรรให้เลือกประดับได้หลายสีตามปรารถนา   ที่พบเห็นกันส่วนใหญ่ตามท้องตลาดมักจะเป็นสีแดง   หรือสีแดงอมน้ำตาล
พลอยการ์เนตโดยทั่วไปถือเป็น   พลอยแห่งสุขภาพและความมั่นคง   อย่างเช่นในกรณีของชีวิตสมรส   ความมั่นคงจะก่อให้เกิดความสุข   และความสำเร็จในชีวิต   ในความนึกคิดของคนอียิปต์สมัยโบราณถือเป็นสัญญลักษณ์แห่งชีวิต   (Symbol of life)  ใน สมัยกลาง  (Middle Ages) เชื่อกันว่าการ์เนตเป็น พลอย ที่มีอำนาจในการบำบัดรักษาโรค   มีอำนาจในการป้องกันพิษ   โรคระบาดและฟ้าผ่า   โกเมนสีแดงเคยใช้ในการรักษาโรคบางชนิด   ส่วนชนิดที่มีสีเหลืองใช้รักษาโรคดีซ่าน   เป็นต้น   การรักษาโรคดังกล่าว   กระทำโดยบดพลอยให้เป็นผงละเอียด   แล้วนำมาพอกเข้ากับตัวคนไข้   หากรักษาแล้วไม่หาย    ก็ยังมีความเชื่อถือกันถึง ว่า   พลอยที่นำมารักษานั้นมิใช่พลอยของแท้ตามธรรมชาติ
clip_image004
clip_image006
clip_image008
      ตามคัมภีร์ของศาสนา คริสต์   พลอยสีแดงนั้นก็คือ   พลอยโกเมน   และเป็นพลอยที่จัดวางอยู่ในแถวแรกของแผ่นประดับหน้าอกของพระคริสต์ชั้นสูง   เป็นพลอยแดงที่ส่องสว่างให้กับเรือโนห์ในคัมภีร ์ ส่วนทางของไทยเรา   โกเมนแดงเป็นรัตนชาติชนิดหนึ่งในนพรัตน ์ ดังมีคำกล่าว   "แดงแก่กล่ำโกเมนเอก"   อันหมายถึงพลอยชนิดนี้นั่นเอง
     ประมาณ ตอนกลางของศตวรรษที่  ก่อนคริสตกาล  ชาวกรีก นิยมชมชอบแหวนทองที่ประดับด้วยพลอยการ์เนต   โดยมีขนาดความกว้างของพลอยโตกว่าขนาดนิ้วที่สวม     ล่วง เลยมาในช่วงศตวรรษที่   18   นอกเหนือจากการนำมาทำ แหวนประดับรูปพรรณต่างๆ แล้ว   ก็มีการนำพลอยการ์เนตมาขึ้นรูปเป็นสร้อยแบบธรรมดา
    ในสมัยวิคทอเรีย   เครื่องประดับแบบเข็มกลัด   กำไลข้อมือ   มักจะทำด้วยพลอยการ์เนต   โดยใช้  เงิน  ทองคำ   หรือทองแดง   เป็นกรอบทำให้แลดูมีชีวิตชีวา   ด้วยประกายแดงกล่ำของการ์เนต   แหวนพลอยการ์เนตแบบรูปโค้งหลังเต่า   ก็เป็นที่นิยมไม่น้อยเช่นกัน   บนส่วนโค้งนูนของพลอยมักจะประดับด้วยมุกรูปดาวเล็ก ๆ
clip_image010
     ทางวิชาแร่   ผลึกพลอยโกเมนจัดอยู่ในระบบไอโซเมตริก   (Isometric system)  รูปร่างของผลึก (ก่อนการเจียระไน)   มีลักษณะกลม ๆ  คล้ายตะกร้อ   ส่วนประกอบทางเคมีเป็นพวกซิลิเกต   (Silicate)  มี สูตร  A3B2(SiO4)3  โดยที่ A อาจเป็นแคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม (Mg)  เหล็ก (Fe)  และแมงกานีส (Mn)   อย่างใดอย่างหนึ่ง  B อาจเป็นอลูมิเนียม (Al) เหล็ก (Fe)   ไทเทเนียม (Ti)  และโครเมียม (Cr)   จะมีธาตุอย่างใดเป็นส่วนประกอบเท่าใดนั้น   ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแหล่งที่เกิดของแต่ละแหล่ง   และการที่แร่มีส่วนประกอบแตกต่างกันออกไปนี่เอง   จึงทำให้มีการแบ่งแร่ชนิดนี้ออกเป็นชนิดย่อย ๆ  อีก หลายชนิด   แต่ละชนิดจะมีสีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์อื่น ๆ  แตกต่างออกไปด้วย  ตารางที่ 2   แสดง ให้เห็นพลอยตระกูลการ์เนตชนิดต่าง ๆ   รวมทั้งคุณสมบัติทางฟิสิกส์บางส่วนทางวิชาแร่พอสังเขป   ซึ่งจะช่วยให้ท่านได้รู้จักพลอยในตระกูลนี้ดีขึ้นบ้าง   แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการ์เนตทุกชนิดที่กล่าวถึงจะนำมาเจียระไนเป็น เครื่องประดับได้เสมอไป
  
clip_image011
ตารางที่ 2   พลอย ในตระกูลการ์เนต

       ชื่อ    ส่วนประกอบทางเคมี ความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ ดัชนี หักเห       สี ชื่อเรียกอย่างอื่น ประเทศที่พบ
ไพโรป (Pyrope) Mg3Al2(SiO4)3 7-7.5 3.65-3.80 1.730-1.760 แดงเข้ม บางครั้งเข้าใจผิดเรียก เชโกสโลวะเกีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย ไทย
แอลมันไดต์ (Almandite) Fe3Al2(SiO4)3 7-7.5 3.95-4.20 1.78-1.81 แดงปนม่วง น้ำตาล แดง ชนิดที่มีส่วนประกอบของ ไพโรปสองส่วน และแอลมันไดต์ หนึ่งส่วนเรียก โรโดไลต์ (Rhodolite)   มีสีแดงออก กุหลาบอ่อน หรือม่วง ศรีลังกา อินเดีย อัฟกานิสถาน บราซิล ออสเตรีย เชโกสโลวะเกีย และไทย
สเปสซาร์ไทต์ (Spessartite) Mn3Al2(SiO4)3 7-7.5 4.12-4.20 1.795-1.815 น้ำตาลไปจนกระทั่ง แดง - ศรีลังกา บราซิล สหรัฐอเมริกา สวีเดน และไทย
กรอสซูลาไรต์ (Grossularite) Ca3Al2(SiO4)3 7-7.5 3.60-3.68 1.738-1.745 ขาว เขียว เหลือง น้ำตาล และแดงอ่อน มีสีออกน้ำตาล ส้มเรียก   เฮสโซไนต์ (Hessonite), ซินนามอนสโตน (Cinnamon Stone) ศรีลังกา แคนาดา ปากีสถาน แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และไทย
แอนดราไดต์ (Andradite) Ca3Fe2(SiO4)3 6.5-7 3.82-3.85 1.888-1.889 เหลือง เขียว เขียวมรกต น้ำตาล ไปจนกระทั่งดำ    สีเขียวเรียก  เทือกเขาอูราล เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และไทย
อูวาโรไวต์ (Uvarovite) Ca3Cr2(SiO4)3 7.5 3.77 1.87 สีเขียวมรกต - เทือกเขาอูราล ฟินแลนด์ โปแลนด์ อินเดีย แคนาดา

0 ความคิดเห็น: