Customers Say

"Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam pharetra, tellus sit amet congue vulputate, nisi erat iaculis nibh, vitae feugiat sapien ante eget mauris."

-- Donna Annells, Seachers Inc.

หยกอาบน้ำ(B-jade)

                                                        หยกอาบน้ำ(B-jade)
     คำว่า หยกอาบน้ำ หรือ บี เจด เป็นสิ่งที่หลายคน ในวงการค้าขายอัญมณี ต้องเคยได้ยิน ส่วนคน ที่ไม่ได้อยู่ในวงการ อาจจะไม่คุ้นหู และคิดว่าคงมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่า หยกที่แท้จริงแล้ว หมายถึงอะไร
image
     โดยทั่วไป หยก (Jade) หมายรวมถึงแร่ 2 ชนิด คือ เจไดท์ ซึ่งเป็นสารประกอบ โซเดียม - อะลูมิเนียม ไพรอกซีน หรือเรียกว่า หยกแข็ง เป็นหยกที่พบในประเทศพม่าเท่านั้น อีกชนิดหนึ่ง ก็คือ เนไฟรท์ เป็นสารประกอบแคลเซียม แมกนีเซียม แอมฟิโบล หรือเรียกว่า หยกอ่อน พบในจีน รัสเซีย แคนาดา ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา อเมริกาใต้ อาฟริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ ทั่วโลก
     หยกเนไฟรท์ มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 2.9 เมื่อจุ่มลงในน้ำยา เมทิลีน ไอโอไดด์ ซึ่งมีความถ่วงจำเพาะ 3.32 เนไฟรท์ และหยกเลียนแบบ ชนิดอื่นๆ เช่น คาลซีโดนี ควอทซ์จะลอยขึ้น แต่หยกเจไดท์จะจมช้าๆ ในน้ำยา 3.32 เพราะความถ่วงจำเพาะ ของเจไดท์ มีค่า 3.34 วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆ ในการจำแนกเจไดท์ออกจากแร่ชนิดอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน
image
     วัตถุดิบ ที่นำมาทำหยกอาบน้ำ คือ หยกเจไดท์ ซึ่งมาจากเหมืองที่เมืองคะฉีน ประเทศพม่า หยกที่พบจะเป็นก้อนใหญ่ และเล็กขนาดต่างๆ กัน ผิวนั้นจะมีสีน้ำตาล เนื่องจากถูกออกซิไดซ์ ด้วยออกซิเจนในอากาศ การทำเหมืองหยกในพม่านี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ดังนั้น การจะซื้อ - ขายหยกก้อน จึงต้องผ่านด้วยวิธีการประมูลใหญ่ ซึ่งเรียกว่า เอมโพเรียม พ่อค้าอัญมณี จากทั่วโลก จะมุ่งไปที่พม่าเพื่อประมูลซื้อขาย หยก และอัญมณีชนิดอื่น
     การซื้อหยกก้อน มักจะกระทำโดยผู้ซื้อ ไม่มีโอกาสได้เห็นเนื้อในของหยกว่ามีสีอะไร ต้องเสี่ยงดวง กันเอาเอง ว่าเมื่อซื้อมาแล้ว จะพบหยกสีสวยเขียวเข้ม และโปร่งแสง อย่างที่เรียกว่า หยกจักรพรรดิ ซึ่งมีราคาแพงที่สุด หรือจะพบหยกสีอ่อนจาง หรือเขียวเข้ม จนมืด ซึ่งไม่มีราคา

     ตามจริงแล้วหยกเจไดท์ ไม่ได้มีแต่สีเขียว เพียงอย่างเดียว ยังมีสีอื่นๆ เช่น ม่วงลาเวนเดอร์ เหลือง แดง ขาว และดำ แต่สีซึ่งเป็นที่นิยม มากที่สุดคือ สีเขียว ในบรรดาหยกสีเขียว ก็ยังแบ่งออกเป็นหลากหลายเฉดสี ได้แก่ หยกจักรพรรดิ หยกสีเขียวแอปเปิ้ล หยกเขียวถั่ว หยกเขียวน้ำมัน หยกเขียวแกมดำ และหยกที่มีหย่อมสี เขียวบนพื้นขาว
imageimageimageimage  image





     แฟคเตอร์ที่มีผล ต่อราคาของหยกได้แก่ สี ความประณีตในการเจียระไน ความโปร่งแสง และน้ำหนักกะรัต ในแง่ของสี หยกที่มีสีเขียว มรกต จะมีราคาแพงที่สุด ในแง่ของความโปร่งแสง ยิ่งโปร่งแสงมาก ราคาก็จะแพงมากขึ้น หยกมีความโปร่งแสง หลากหลาย บางชนิด ก็ทึบแสง วิธีดูความโปร่งแสง ของหยก ให้นำหยกไปวางบนกระดาษ ที่มีเส้นหมึกดำ หรือตัวอักษรพิมพ์อยู่ชัดเจน แล้วมองทะลุลงไป ว่าเราสามารถเห็นสิ่งที่หยกทับอยู่หรือไม่
     หยกก้อนจากพม่า จะถูกนำออกมายังฮ่องกง เพื่อทำการเจียระไน หรือแกะสลัก เพื่อการจำหน่าย ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการค้าหยกของโลก มานานหลายสิบปี เทคนิคการปรับปรุงคุณภาพของหยก ก็เกิดขึ้นที่นี่ เริ่มมาตั้งแต่การเผา การย้อมสี และมาจนถึงยุคปัจจุบันคือ การกัดสี หยก หรือที่เรียกว่า "หยกอาบน้ำ"
image     ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าใครเป็นผู้คิดค้นคำว่า "หยกอาบน้ำ" ขึ้นมาใช้ในวงการอัญมณี แต่ต้องขอ ชมเชย ด้วยใจจริงว่า สามารถหาศัพท์ได้น่าประทับใจมาก พอๆกับคำว่า "พลอยอัด" สำหรับใช้กับ ทับทิมสังเคราะห์ เพราะเป็นคำที่ฟังแล้ว ไม่มีความรู้สึกในแง่ลบเกิดขึ้น ไม่เหมือนกับศัพท์ ในภาษาอังกฤษ ต่อไปในอนาคต เราคงจะได้ฟังศัพท์แปลกๆ เหล่านี้อีกมาก เพราะวัตถุดิบธรรมชาติ ของอัญมณีเริ่มหมดไป พลอยสังเคราะห์จะออกสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการ ของผู้ซื้อ
     อันที่จริง หยกซึ่งนำมาทำการกัดสี ผ่านการอาบน้ำมาจริงๆ แต่เป็นน้ำกรด ผู้ผลิตจะใช้หยกเจไดท์ ซึ่งมีสีเข้ม นำมาทำการกัดสีเข้มเหล่านั้น ให้จางลง โดยใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก หรือสารประกอบโซเดียมบางชนิด แช่ไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมง จนถึงหลายอาทิตย์ เพื่อกำจัดสีน้ำตาลแกมดำ ซึ่งเป็นสารประกอบของเหล็ก ถ้าหากการดำจัดสีได้ผล วัตถุดิบจะเปลี่ยนจากสีเขียว สกปรก เป็นสีขาวหรือเขียวอ่อน
     หยกที่ผ่านกระบวนการกัดสี จะสูญเสียคุณสมบัติสำคัญของมันคือ ความเหนียว ถ้าหากเราผ่า หยกก้อน จะเห็นเนื้อในของมัน ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย เกิดจากการเกาะเกี่ยวสอดประสานกัน ของผลึกขนาดเล็กจำนวนมากมาย ความเหนียวนี้ ทำให้เราสามารถแกะสลักหยก เป็นลวดลาย ละเอียดอ่อนได้ โดยไม่แตกไปเสียก่อน
     การนำหยกมาอาบน้ำกรด จะเกิดการกัดทำลายผลึกเล็กๆ ที่เคยสอดประสานกันแน่นหนา ทำให้หยกที่กัดสีแล้ว เปราะ บี้ให้แตกร่วน เป็นผงได้ ดังนั้น ผู้ผลิตหยกอาบน้ำ ต้องระวังควบคุม ระยะเวลาการอาบน้ำกรด ให้พอดี เพื่อไม่ให้เนื้อหยก ถูกทำลายมากเกินไป ก็เหมือนกับ ที่เรานอนแช่น้ำ ในอ่างน้ำนั้น ยิ่งแช่นานเนื้อตัว ก็จะยิ่งเปื่อย เหี่ยวลงไปถนัดตา
image image image image







     หลังจากอาบน้ำ ขัดสีฉวีวรรณ จนขาวผ่องแล้ว ผู้ผลิตจะนำหยก มาฉีดพอลิเมอร์ (resin) หรือไขมัน (wax) บางชนิดเข้าไป ซ่อมแซม ส่วนสึกหรอ ภายในเนื้อหยก หรือพูดง่ายๆ ว่าเข้าไปแทนที่ผลึกเล็กๆ ซึ่งทำหน้าที่ ยึดเกาะเนื้อหยกไว้ด้วยกัน ขั้นตอนนี้เรียกว่า การแทรก สอด (impregnation) บางครั้ง อาจจะมีการย้อมสี ก่อนนำมาเสริมเรซิน บางครั้งมีการผสมสีลงไปในเรซิน หยกที่ผ่านการเสริมเรซิน จะมีเนื้อในสวย สีและความโปร่งใสดีขึ้นกว่าเดิม
     หลังจากการอาบน้ำ และอัดฉีดเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็มาถึงวาระที่กรรมการ และผู้ชมทั้งหลาย ต้องมาวิเคราะห์กันว่า หยกที่เห็นนี้ สวยธรรมชาติ หรือสวยเนื่องจากศัลยกรรมตกแต่ง วิธีทดสอบหยกอาบน้ำ ไม่สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ และวิธีที่เชื่อถือได้ มากที่สุด คือต้องใช้เครื่องมือราคาแพง ซึ่งต้องอาศัยเทคนิค และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้เฉพาะด้าน จึงจะสามารถวิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลได้
image
 การตรวจสอบหยกอาบน้ำ
     1. วัดความถ่วงจำเพาะ หยกธรรมชาติ จะมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 3.32-3.34 แต่หยกอาบน้ำ จะมีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่า 3.32 เพราะเนื้อหยกบางส่วนถูกทำลาย และแทนที่ด้วยเรซิน ซึ่งมีความถ่วงจำเพาะต่ำ วิธีนี้เชื่อถือได้ค่อนข้างน้อย
     2. การจี้ด้วยเข็มร้อน เมื่อนำลวดร้อนๆ ไปจี้ที่ผิวหน้าของหยก หากเป็นหยกธรรมชาติ จะไม่มีการ เปลี่ยนแปลงใดๆ หากเป็นหยกอาบน้ำ จะเกิดควันบางๆ ขึ้นและมีกลิ่นเหมือนพลาสติกไหม้ไฟ แต่วิธีนี้ ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% เพราะหากไม่มีพอลิเมอร์ หรือเรซิน ตกต้างอยู่ที่ผิวหน้า ก็จะไม่เกิดการ เปลี่ยนแปลง
     3. การเรืองแสงภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเล็ต การสังเกตลักษณะปรากฏของหยก ภายใต้แสง อุลตร้าไวโอเล็ต อาจจะเป็นแนวทางบ่งชี้ว่า เป็นหยกอาบน้ำได้ แต่วิธีนี้ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100%
     4. การสังเกตร่องรอย บนผิวหน้าของหยกด้วยกล้องจุลทรรศน์ บางครั้งอาจจะเห็นร่องรอย ของพอลิเมอร์ที่ขังอยู่ในซอกหลืบ ของชิ้นงานแกะสลัก หรือพบฟองอากาศ และคราบสีย้อม ภายในเนื้อพอลิเมอร์ ซึ่งแทรกตัวอยู่ในรอยแตกขนาดค่อนข้างใหญ่ สำหรับชิ้นงาน ที่ทำอย่างไม่ประณีต อาจสังเกตเห็นว่าความวาวของเนื้อหยกมีน้อย บางครั้งจะเห็นบริเวณด่างดวงสีขาวชัดเจน เนื่องจากพอลิเมอร์ หรือเรซินซึมเข้าไปไม่ทั่วถึง วิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับชิ้นงานทุกชนิด
image
     5. การหยดกรดเข้มข้นลงบนชิ้นงาน (acid drop test) วิธีนี้คิดขึ้น โดยนักอัญมณีศาสตร์ประเทศอังกฤษ ทำโดยการนำกรด มาหยดบนผิวหน้าของหยก ครอบด้วยภาชนะเพื่อป้องกันการระเหย ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ถ้าหากเป็นหยกธรรมชาติ กรดจะซึมเข้าไป ตามรอยแตก ไปปรากฏเป็นแนวตามรอยแตก ในบริเวณข้างเคียงกับที่หยดกรดไว้ ถ้าหากเป็นหยกอาบน้ำ จะไม่เกิดปรากฏการณ์นี้ เพราะรอยแตก ต่างๆ จะถูกอุดด้วยพอลิเมอร์จนหมด วิธีนี้ไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% เช่นกัน<
     6. วิธีสุดท้ายซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเชื่อถือได้ 100% ในการตรวจสอบหยกอาบน้ำ คือ การวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง เรียกว่า ฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม อินฟาเรด สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (FT-IR) เครื่องมือชนิดนี้ จะบอกการดูดกลืนแสง ในช่วงอินฟาเรด ของหยก และหากว่าหยกนั้น มีพอลิเมอร์เสริมอยู่ มันจะแสดงลักษณะการดูดกลืนแสงที่ต่างกันออกไป
โดยทั่วไปพอลิเมอร์ที่ใช้เป็นตัวเสริมในหยกอาบน้ำ ได้แก่ ออพติคอน ไขมัน และสารประกอบพวกฟทาเลท (phthalate)
imageimage image image image image
     อันที่จริงการซื้อขาย หยกอาบน้ำ ถ้าหากกระทำโดยเปิดเผย และระบุว่า นี่คือหยกอาบน้ำก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะหยกที่ผ่านกระบวนการนี้ มีความสวยงาม น่าใช้มากกว่า หยกที่เป็นวัตถุดิบ ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ผู้ขายมัก ปิดบังผู้ซื้อ ทั้งนี้อาจจะโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ทำให้ราคาซื้อขาย สูงกว่าราคาที่แท้จริง มีผู้คาดประมาณไว้ว่า ประมาณ 80% ของหยกสีเขียวที่ซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบันเป็นหยกอาบน้ำ
     หยกอาบน้ำ จะไม่คงทน ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 2-3 ปี จะเกิดตะกอนสีเหลืองขึ้น ในเนื้อหยก ที่ผ่านการต้ม กับกรด บางครั้งสีของมัน จะเข้มขึ้น หรือมีสีเทามาแซม ถ้าหากโดนความร้อนสูง พอลิเมอร์จะถูกเผา ไหม้ ความโปร่งใสของหยก จะหมดไปกลายเป็นขาวขุ่น ในกรณีของชิ้นงาน ที่ทำอย่างลวกๆ กรดอาจจะยังตกค้าง อยู่ในรอยแตก ทำให้เกิดอาการระคายเคืองขณะสวมใส่
     เนื่องจากหยกอาบน้ำ มีคุณภาพสู้หยกธรรมชาติ ไม่ได้ แม้ว่าจะมีความสวยงาม ทัดเทียมกับหยกธรรมชาติเกรดสูง ผู้ค้าอัญมณีควรจะนำหยก มาตรวจสอบ เพื่อความมั่นใจ ในการซื้อขาย เพื่อจะเป็นประโยชน์ สำหรับตัวผู้ขายเอง และรวมไปถึงผู้ซื้ออีกด้วย
image image image
       ชนิด                                              ลักษณะ
ชนิด A หยกเจไดท์ธรรมชาติ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ด้วยสารเคมีใดๆ ความสวยงามของเนื้อหยกจะคงทนอยู่นับเป็น ร้อยๆ ปี
ชนิด B หยกที่ผ่านการกัดสีและฉีดสารอิพอกซีน (epoxene) ซึ่งไม่มีสีถ้า หากเก็บไว้นานหลายปีหยกชนิดนี้จะจางลง หรือมีสีเหลือง หรือ แกมสีเทา ขึ้นอยู่กับการได้รับแสงอาทิตย์หรือความร้อน
ชนิด B บวก C หยกที่ผ่านการกัดสีและฉีดสารอีพอกซีนที่มีสีย้อมผสมอยู่ เมื่อ เก็บไว้นานสีย้อมจะซีดจางและกลายสีเหมือนชนิด B
ชนิด C หยกย้อมสี เมื่อเก็บไว้ไม่นาน สีย้อมจะซีดจางลง ขึ้นอยู่กับการ ได้รับแสงอาทิตย์หรือความร้อน


0 ความคิดเห็น: