Customers Say

"Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Etiam pharetra, tellus sit amet congue vulputate, nisi erat iaculis nibh, vitae feugiat sapien ante eget mauris."

-- Donna Annells, Seachers Inc.

พลอยประจำเดือนเกิด กุมภาพันธ์ - แอเมทิสต์ (Amethyst)

             พลอยประจำเดือนเกิด กุมภาพันธ์ - แอเมทิสต์ (Amethyst)


image แอเมทิสต์ (Amethyst) มาจากคำว่า "Amethystos" ในภาษากรีก แปลว่า การมีสติ ไม่มึนเมา จึงเชื่อกันว่าแอเมทิสต์มีคุณสมบัติทำให้ไม่เมา ชาวโรมันเชื่อว่าหากดื่มเหล้าจากจอกแอเมทิสต์ หรือแช่อัญมณีชนิดนี้ไว้ในเหล้าจะช่วยให้ไม่ให้เมา ในปัจจุบันถ้วยไวน์ในบางแห่งจึงยังคงแกะสลักจากแอเมทิสต์ แอเมทิสต์เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่เมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะอัญมณีศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสักการะ ชาวอียิปต์โบราณนับถือแอเมทิสต์มาก มีการฝังแอเมทิสต์ทรงหัวใจไว้ในสุสานของฟาโรห์จำนวนมากตามคำสอนในคัมภีร์ แห่งความตาย (The Book of the Dead) ส่วนทางด้านศิลปะ ชาวอียิปต์ได้สลักรูปแมลงจากอัญมณีสีม่วงนี้
ใน คัมภีร์ไบเบิ้ล ได้กล่าวถึงแอเมทิสต์ว่าเป็น 1 ในอัญมณี 12 ชนิดที่ประดับลงบนจีวรของพระชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น ต่อมา แอเมทิสต์จึงกลายเป็นอัญมณีที่ใช้แสดงฐานะพระชั้นผู้ใหญ่ของคริสตจักร สังเกตได้จากแหวนของพระสันตปาปาและแหวนของพระที่มีบรรดาศักดิ์สูง แหวนของพระเหล่านี้ประดับด้วยแอเมทิสต์ทั้งสิ้น ส่วนบนเสื้อพิธีของบาทหลวงก็ประดับแอเมทิสต์ลงไป จนปัจจุบันนี้ แอเมทิสต์กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของบาทหลวง นอกจากนี้ โบสถ์ในยุคกลางก็ประดับประดาไปด้วยแอเมทิสต์เช่นกัน (และเพราะเชื่อกันว่าสีม่วงเป็นสีแห่งความศรัทธาในศาสนา)
แอ เมทิสต์เป็นอัญมณีสีม่วงคราม - ม่วงแดง สำหรับอะมีทิสต์สีอ่อน เรียกว่า Rose de France ส่วนสีเข้ม เรียกว่า ม่วงดอกตะแบก มีลักษณะเป็นผลึกเดี่ยว (Crystalline Varieties) อยู่ในประเภทควอตซ์ (Quartz Species) มีองค์ประกอบทางเคมี คือ SiO2 สีม่วงเกิดจากธาตุเหล็ก (Fe) ที่เป็นธาตุร่องรอย (Trace elements) ในโครงสร้างผลึก มีความแข็งเท่ากับ 7 ตามโมห์สเกล (Mohs' Scale of Hardness) แอเมทิสต์ที่มีความใสสะอาดนิยมนำมาเจียระไนแบบต่างๆ ส่วนแอเมทิสต์ที่มีลักษณะขุ่น มีความใสน้อยหรือค่อนข้างทึบแสงนิยมนำมาแกะสลัก นอกจากนี้เนื่องจากมีลักษณะผลึกที่สวยงามตามธรรมชาติจึงสามารถใช้วางเป็นของ ประดับตกแต่งได้โดยไม่จำเป็นต้องเจียระไน
สมบัติของแอเมทิสต์
สูตรเคมี (Chemical composition) SiO2
ระบบผลึก (Crystal system) Rhombohedral
ผลึกแฝด (Twinning)  Dauphine law, Brazil law, Japan law
ค่าดัชนีหักเห (RI) nω = 1.543–1.553 nε = 1.552–1.554
ค่าไบรีฟรินเจนซ์ (Birefringence) +0.009
ลักษณะทางแสง (Optical nature) Uniaxial
ความวาว (Luster) วาวแบบแก้ว (Vitreous)
แนวแตก (Cleavage) ไม่มี
รอยแตก (Fracture) แบบก้นหอย (Conchoidal)
ความแข็ง (Hardness) 7
ความถ่วงจำเพาะ (SG)  2.65
แอ เมทิสต์ สามารถนำมาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 470 - 750 องศาเซลเซียส จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลอมเหลืองหรือเหลือง หรือน้ำตาลอมแดง และเป็นการเปลี่ยนสีถาวร มีชื่อเรียกว่า ซิทริน (Citrine) 
แหล่ง ที่พบแอเมทิสต์ที่มีคุณภาพ ได้แก่ ในประเทศบราซิล, มาร์ดากัสการ์, แซมเบีย, อุรุกวัย, พม่า, อินเดีย, แคนาดา, แมกซิโก, นามีเบีย, รัสเซีย, ศรีลังกา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
แอเมทิสต์สังเคราะห์ในปัจจุบันมี ความคล้ายคลึงกับแอเมทิสต์ธรรมชาติมากทั้งส่วนประกอบทางเคมีและทางกายภาพ แต่ก็สามารถตรวจสอบได้โดยดูจาก Brazil law twinning ซึ่งเป็นลักษณะของผลึกแฝดที่พบในแร่ตระกูลควอตซ์ (Quartz)image
แอเมทิสต์กับความเชื่อ
นอก จากจะเป็นอัญมณีประจำเดือนเกิดสำหรับเดือนกุมภาพันธ์แล้ว ปัจจุบันแอเมทิสต์ได้กลายมาเป็นอัญมณีที่คู่รักนิยมมอบให้กันในวันครบรอบการ แต่งงานในปีที่ 4, 6 และปีที่ 17 อีกด้วย และมีความเชื่อกันว่าผู้ที่สวมใส่แอเมทิสต์จะสามารถควบคุมความคิดของศัตรู ได้ และยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจประสบความสำเร็จ บางตำราก็กล่าวว่าจะบ่งบอกว่าเป็นผู้ที่สุภาพ อัธยาศัยดี นอกจากนั้นอัญมณีชนิดนี้ยังช่วยในเรื่องของความรัก ความกล้าหาญ ป้องกันอันตราย และนำพาความสุขมาสู่ผู้สวมใส่อีกด้วย
ทาง ด้านการบำบัด อะมีทิสต์เป็นอัญมณีสีม่วงซึ่งเป็นสีแห่งจิตวิญญาณ จึงมีพลังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส ช่วยขจัดความคิดที่ชั่วร้ายและชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ก่อให้เกิดสมาธิและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ หากวางอัญมณีชนิดนี้ไว้ใต้หมอนจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น หรือหากวางไว้บนหน้าผากจะช่วยรักษาอาการปวดศีรษะด้วย แอเมทิสต์ยังมีพลังช่วยในการฟอกเลือด หรือสร้างเม็ดเลือดได้ ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือด
ทาง ด้านความรัก คนโบราณเชื่อกันว่า ถ้านำอะมีทิสต์รูปหัวใจประดับบนเรือนทองคำหรือเงิน และบ่าวสาวมอบให้แก่กันและกัน ทั้งคู่จะมีชีวิตรักที่มีความสุขตลอดไป อะมีทิสต์ (Amethyst)ตำนานเกิดอะมีทิสต์
ตำนานของแอเมทิสต์
ตำนาน การเกิดของอะมีทิสต์เกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เทพไดโอนิซุส (Dionysius) เทพเจ้าแห่งเมรัยทรงกริ้วที่มนุษย์ไม่สนใจพระองค์ จึงสาปแช่งให้มนุษย์คนต่อไปที่เดินผ่านมาถูกเสือฆ่า แต่ผู้ที่เดินผ่านมา คือ สาวน้อยชื่ออะมีทิสต์ (Amethyst) ซึ่งกำลังเดินทางไปสักการะเทพธิดาไดอานา (Diana) เมื่ออะมีทิสต์ เห็นเสือเข้ามาใกล้จึงร้องขอให้เทพธิดาไดอานาช่วย เทพธิดาไดอานาจึงเสกให้อะมีทิสต์กลายเป็นผลึกแก้วควอทซ์ เมื่อเทพไดโอนิซุสทรงทราบถึงเจตนาของอะมีทิสต์ก็รู้สึกละอายพระทัย จึงทรงเทเหล้าองุ่นลงบนร่างของอะมีทิสต์เพื่อเป็นการไถ่โทษ ทำให้ร่างของเธอกลายเป็นสีม่วง และกลายมาเป็นอัญมณีสีม่วงนี้ที่เรารู้จักกัน
ข้อมูล git.or.th, SGS
ภาพประกอบจาก Emily Gems


0 ความคิดเห็น: